ค้นหาสินค้า
Filters
Close
RSS

Blog posts of '2015' 'มิถุนายน'

ดื่มชา ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

ดื่มชา ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

ชา เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่นิยมมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ถูกค้นพบเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน โดยจักรพรรดิ์ Shen Nung สารสำคัญในชา คือ แคททีคินและฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ช่วยป้องกันความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรังต่างๆ

Tea and leaf

ประโยชน์ของ ชา ต่อสุขภาพ

โรคหัวใจ

นักวิจัยแนะนำการ ดื่มชา อาทิ ชาเขียว ชาดำหรือชาแดง ชาอูลอง ชาขาว ฯลฯ วันละ 1-5 ถ้วย เพื่อลดโรคหัวใจหรือป้องกันหัวใจวาย สารฟลาโวนอยด์ในชาอาจช่วยป้องกันเกล็ดเลือดเกาะตัวตามผนังเส้นเลือดแดงและนำไปสู่โรคหลอดเลือดแดง

  • การวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าผู้ที่รับประทานสารฟลาโวนอยด์มากที่สุด มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 68%   อาหารที่มีสารฟลาโวนอยด์มากที่สุดคือ ชาดำ รองลงมาคือ หัวหอม และแอ๊ปเปิ้ล

  • งานวิจัยในโรงเรียนแพทย์ฮาวาร์ด รัฐบอสตัน ศึกษาชาย-หญิง 340 คนที่มีปัญหาหัวใจวายอยู่ พบว่าผู้ที่ ดื่มชา ดำวันละถ้วย  ลดความเสี่ยงหัวใจวาย 44% เทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม

  • การวิจัยจากองค์การอาหารและเกษตรของสหรัฐอเมริกาพบว่าการ ดื่มชา ดำวันละ 5 ถ้วย ช่วยลดแอลดีแอลคอเลสเทอรอลและคอเลสเตอรอลรวมได้ ในกลุ่มชาย-หญิงที่มีคอเลสเตอรอลสูงขึ้นไม่มาก

โรคมะเร็ง

การวิจัยเบื้องต้นแนะว่าสารฟลาโวนอยด์ในชาอาจช่วยลดความเสี่ยงมะเร็ง

โรคเบาหวาน

หลักฐานทางระบาดวิทยาพบว่าการ ดื่มชา เขียวอาจป้องกันเบาหวาน

  • นักวิจัยพบว่าสารธรรมชาติในชาช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลินในเซลไขมันถึง 150 เท่า

  • งานวิจัยขนาดเล็กในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การ ดื่มชา วันละ 6 ถ้วย นาน8 สัปดาห์จะช่วยลดระดับน้ำตาลลง 15-20%

  • การวิจัยจากไต้หวันพบว่าอาสาสมัคร 20 คนที่เป็นเบาหวานประเภท 2 และใช้ยาลดระดับ

  • น้ำตาล  หลังจาก ดื่มชา อูลองขนาดแก่(แช่น้ำเพียง 10 นาที) วันละ 6 ถ้วย (ถ้วยละ 240 มล.) นาน 30 วัน ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 29% จึงแนะว่า ชาอูลองอาจมีช่วยเพิ่มฤทธิ์ยาเบาหวานประเภท 2

iStock_000010728743_Small

เพิ่มภูมิต้านทาน

สารอะมิโนแอล-เธียนีนอาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันการติดเชื้อ และเพิ่มคลื่นอัลฟา (alpha wave)ในสมอง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ข้อมูลล่าสุดพบว่าชาดำช่วยลดผลของฮอร์โมนเครียด

สุขภาพปากและฟัน

การวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์คในหนูพบว่า ชาดำช่วยลดฟันผุได้ คาดว่าสารฟลาโวนอยด์ในชามีผลยับยั้งแบคทีเรียในช่องปาก ลดการเกิดฟันผุ

การวิจัยจากมหาวิทยาลัยในชิคาโกพบว่า สารโพลีฟีนอลช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก

ชามีอันตรายหรือไม่

ในชามีสารฟลูออไรด์ซึ่งมีประโยชน์ต่อกระดูกและฟัน แต่ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้กระดูกเปราะและฟันเป็นจุดขาวได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาโลหิตจาง ไม่ควร ดื่มชา พร้อมอาหารเพราะสารแทนนินจะลดการดูดซึมธาตุเหล็กและโปรตีนในลำใส้ อาจทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็ก

วิธีชงชาให้ได้ประโยชน์

Dr. Prior และคณะพบว่าเวลาที่เราแช่ชาดำชนิดซองในน้ำเดือด สารต้านอนุมูลอิสระจะออกมาในน้ำอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะดูดซึมสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวและชาดำได้เร็วและมีประสิทธิ ภาพ การ ดื่มชา วันละถ้วยจะให้สารต้านอนุมูลอิสระที่เพียงพอต่อร่างกาย

แค่เทน้ำเดือดๆ ลงบนซองชาหรือใบชาแช่ประมาณ 3-5 นาที แต่ถ้าคุณกำลังเร่งรีบ จุ่มซองยกขึ้นลงประมาณ 1 นาที จะช่วยปล่อยสารฟลาโวนอยด์จากชาเร็วขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เชี่ยวชาญแนะว่าการจุ่มขึ้นจุ่มลงเพียง 1 นาทีกับการแช่ไว้ 4 นาที จะได้ประโยชน์พอๆกัน สำหรับชาเขียวให้แช่นานประมาณ 1-1 1/2 นาที

 

ขอบคุณที่มาจาก : Health&Cuisine กันยายน, Issue 80

ประโยชน์ของชาต่อสุขภาพ

 

1.ชากับการต้านอนุมูลอิสระ

ในชาประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า คาเทชินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง  โรคหัวใจและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น  จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้

2.ชากับโรคมะเร็ง

   การดื่มน้ำชาเป็นประจำสามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งที่ อวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งเต้านม สารคาเทชิน (Catechins) ในชามีผลยับยั้งมะเร็งด้วยกลไกที่หลากหลาย คาเทชินที่ออกฤทธิ์ต้านมะเร็งที่สำคัญคือ Epigallocatechin gallate (EGCG)

3.ชากับโรคหัวใจ

   คาเทชิน (Catechins)  ช่วยลดการเกร็งของเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอนในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด อัมพฤษ์ และอัมพาฒจากเส้นเลือดตีบตัน นอกจากนี้ Epigallocatechin gallate (EGCG) ยังช่วยลดการเกิดออกซิเดชันของโคเลสเตอรอล ลดการสะสมและการสร้างตะกอนในเส้นเลือดจากโคเลสเตอรอล ลดการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน และลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

4.ชากับโรคเบาหวาน

สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส  ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยแป้ง  คาเทชินช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสทั้งในน้ำลายและลำไส้  ทำให้แป้งถูกย่อยได้ช้าลง ช่วยให้การเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ  นอกจากนั้นชาเขียวยังลดการดูดซึมของกลูโคสที่ลำไส้

5.ชากับสุขภาพช่องปาก

   สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากซึ่งมีทั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องปาก Porphyromonas gingivilis และแบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ Stretococcus mutans       คาเทชินช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย ทำให้มีปริมาณกลูโคสและมอลโตสน้อยลง ซึ่งเป็นผลลดปริมาณอาหารของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้คาเทชินยังช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรงป้องกันฟันผุ

6.ชากับโรคอุจจาระร่วง

Polyphenols มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื่อกันว่า Polyphenols ทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย การดื่มชาสามารถใช้รักษาโรคอุจจาระร่วงได้ และสามารถฆ่าสปอร์ของ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ และยังสามารถฆ่าแบคทีเรียที่ทนความร้อน เช่น  Bacillus subtilis, B. cereus, Vibrio parahaemolyticus และ C. perfringens

7.ชากับโรคอ้วน

ในชาประกอบด้วยสารสำคัญเรียกว่า โพ ลิฟีนอล (Polyphenols) ที่มีความสามารถยับยั้งเอนไซม์ Catechol-O-methyl transferase จึงช่วยกระตุ้นการสร้างความร้อนของร่างกาย มีส่วนช่วยเผาผลาญพลังงานและช่วยจัดการกับโรคอ้วน ทั้งยังมีคุณสมบัติในการชะลอการปล่อยกลูโคส (Glucose) สู่กระแสเลือด ทำให้ชะลอการสร้างอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้ร่างกายสะสมไขมัน ดังนั้น ร่างกายจึงเผาผลาญไขมันแทนที่จะสะสมไขมัน

8.ชากับการผ่อนคลายของระบบประสาท

   L-Theanine เป็นสารสำคัญในชา ออกฤทธิ์กับระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้สมองปลดปล่อยคลื่นสมองอัลฟา (Alpha Brain Wave) มากขึ้น และลดการปลดปล่อยคลื่นสมองเบต้า (Beta Brainwave)ลง  ทำให้ช่วยผ่อนคลาย (Relaxation) และลดความเครียด  เป็นการส่งเสริมให้มีจิตใจที่สงบ  มีสมาธิมากขึ้น  ไม่หงุดหงิดง่าย  ลำดับความคิดเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น

ที่มา : http://teainstitutemfu.com